การสานมวยบ้านหนองแสน

(โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนได้ศีกษาการทำโครงงาน)
โครงงานการงานอาชีพ 
เรื่อง 
การสานมวย(ที่นึ่งข้าวเหนียว)
 
 
คณะผู้จัดทำโครงงาน
.
.
.
.
.
.
 
คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
นาย ......................
โรงเรียนบ้าน อำเภอ       จังหวัด    
 
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานการงานอาชีพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ประเภทโครงงานสำรวจการเรียนรู้การงานอาชีพ  รหัสวิชา  
 
 
 
หัวข้อโครงงาน            การสานมวย
ผู้จัดทำ                       
๑.     
๒.     
๓.        
๔.     
๕.      
๖. 
๗.     
๘. 
๙.      
๑๐.
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน 
โรงเรียน                     บ้าน  อำเภอ  จังหวัด
ปีการศึกษา                 ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ
       ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local Wisdom)  หมายถึงความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ  นำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน
ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่า การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะสากลที่หลายๆ ท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น
การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น การลงแขกสร้างบ้าน สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับ มีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
 
โดยสรุป  โครงงานเรื่องการสานมวย  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่  ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง   เพื่อประยุกต์ใช้หารายได้เสริม
      
 
กิตติกรรมประกาศ
           โครงงานการสานมวยเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานาน ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน โครงงานจะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่มีข้อมูลจากหมู่บ้านหนองแสนและ อาจารย์   ที่ให้คำปรึกษามาโดยตลอด จึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย
 
 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากมวยเป็นสินค้า OTOP คณะผู้จัดทำ จึงคิดที่จะศึกษาการสานมวยขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้มาสู่คนรุ่นหลัง คณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น                                                                                                                            
                                                                                                             คณะผู้จัดทำ
 
  
บทที่ 
บทนำ
 
ที่มาและความสำคัญ
  จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.      เพื่อศึกษาวิธีการทำสานมวย
2.      เพื่อศึกษาการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.      เพื่อศึกษาการขึ้นลายของมวย
4.      เพื่อใช้เวลาว่างใช้เกิดประโยชน์
ขอบเขตของโครงงาน  
ศึกษาการสานมวยตั้งแต่ 5มกราคม 2553 ถึง 14 มกราคม 2553
     
  วิธีการดำเนินงาน
        
-เลือกหัวข้อที่จะศึกษา
-แบ่งหน้าที่
 -ออกสำรวจศึกษาค้นคว้า
- นำมาทำเป็นโครงงาน
 
วัตถุประสงค์
๑.     เพื่อศึกษา สัมภาษณ์  การสานมวย  จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจากอินเทอร์เน็ต
๒.   เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ มีความรู้เรื่องการสานมวย
๓.    เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
            คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องการสานมวย มากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง
 
ความมุ่งหมายของการศึกษา
            เพื่อรวบรวมข้อมูล  เรื่องการสานมวย  จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ
 
ความสำคัญของการศึกษา
            ทำให้ทราบเรื่อง  การสานมวยของชาวบ้าน
 
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองแสน
 
นิยามศัพท์เฉพาะ
           ศัพท์เกี่ยวกับการสานมวย
   มวยหมายถึงเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่มีรูปร่างลักษณะทรงกระบอกส่วนล่างจะแคบสำหรับสวมลงหม้อซึ่งบางท้องถิ่นอาจเรียกแต่ "ว่า" หวดความจริงแล้วหวดจะมีรูปร่างแตกต่างจากมวยคือ
จะเหมือนรูปกรวยแต่ส่วนล่างจะปิดไม่เป็นรูปทรงกระบอกเหมือนมวยการใช้ประโยชน์ในการนึ่งมวยจะใช้ปริมาณได้มากกว่าและแข็งแรงทนทานกว่าเพราะมีความหนาจากการสานถึง 3 ชั้น
ไม้ไผ่บ้านหมายถึงไม้ไผ่สีสุกลำต้นมีขนาดใหญ่และตรงเป็นไม้ไผ่ที่เรานำมาใช้ในการสานมวย
ตัดหมายถึงการใช้มีดหรือเลื่อยแบ่งไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆตามลายขวาง
ผ่าหมายถึงการใช้มีดที่มีความคมกดลงบนหน้าตัดไม้ไผ่จากด้านโคนไปหาปลาย
จักหมายถึงการใช้คมมีดแบ่งส่วนไม้ไผ่ออกเป็นเส้นบางๆ
เหลาหมายถึงการนำเส้นตอกที่จักแล้วมาเหลาให้ละเอียด
ตอกหมายถึงไม้เส้นบางๆที่ได้จากการจัก
ตอกยั้งหมายถึงตอกที่วางในแนวดิ่งเมื่อทำการสาน
ตอกปื้นหมายถึงตอกที่ถูกจักทางแบนขนานไปกับหลังติวไม้
ส่วยหมายถึงการเหลาตอกให้มีความกว้างเล็กลงเรื่อยๆ
มีดอีโต้หมายถึงมีดที่มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับตักไม้หรือเจียนไม้การผ่าการจักและเหลาตอก
มีดตอกหมายถึงมีดที่มีลักษณะเป็นรูปเรียวปลายแหลมด้ามมีลักษณะกลมยาวประมาณ 14 นิ้วงอไปตามข้อศอกใช้สำหรับคว้านท่อนไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วหรือใช้สำหรับการเหลาตอกนั่นเอง
หินลับมีดหมายถึงหินที่ใช้สำหรับลับมีดให้มีความคมเมื่อเวลาตัดผ่าจักและเหลาตอกจะได้ไม่ต้องออกแรงมากเกินไป
เชือกหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดตัวมวยหลังจากไป่ตอกเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อให้เส้นตอกมีความกระชับแน่น
ผ้าด้ายดิบหมายถึงผ้าที่ใช้สำหรับตัดทำขอบฝาแตะแล้วเย็บด้วยด้ายเย็บเพื่อกันตอกของฝาแตะหลุดหรือดีดตัวออกมา
ด้ายเส้นเล็กหมายถึงด้ายดิบที่ทนความร้อนของไอน้ำและจะไม่หดใช้สำหรับเย็บขอบมวยฝาแตะไม่ให้หลุดออก
เข็มเย็บหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เย็บขอบมวยทั้งขอบบนและล่างและฝาขัดแตะ
ผ้าพันนิ้วมือหมายถึงเศษผ้าหนาๆความยาวประมาณ 4 - 6 นิ้วใช้สำหรับพันนิ้วมือเวลาจักตอกและเหลาตอกเพื่อป้องกันอันตรายจากมีดและคมไม้ไผ่
การสานลายหมายถึงการสานประกบทั้งสองด้านเข้าหากันโดยให้สานตอกที่เหลือ
กระทุนเกียวนหมายถึงข้างละ 4 เส้นติดกันต่อเนื่องจากลายสองเวียนที่สานมาแล้วให้ถูกต้อง
ตอกยืนหมายถึงตอกยั้งไป่ตอกหมายถึงการสานตอกเส้นบนตอกเส้นล่างทับกัน
 
บทที่ 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้
 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
อินเทอร์เน็ต  WWW.GOOGLE. COM   ได้แก่  ได้รู้จักการใช้ไม้ไผ่
ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน
 
บทที่ 
วิธีดำเนินงาน
 
วิธีดำเนินงาน
 แผนการปฏิบัติงาน
วัน เดือน ปี
แนวทางดำเนินงาน
 5 -6/ม.ค./55
 เลือกหัวโครงงาน
 7-8/ม.ค./55
 แบ่งหน้าที่ในการทำงานและไปสอบถาม
 9-10/ม.ค./ 55
 คึกษาค้นคว้าหัวข้องาน
 11-14/ม.ค./55
 ทำเป็นโครงงาน
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
            ๑.   ปากกา
            ๒.   ดินสอ
            ๓.   ยางลบ
            ๔.   ไม้บรรทัด
            ๕.   กระดาษ A4
            ๖.   ฟิวเจอร์บอร์ด
            ๗.   คอมพิวเตอร์
            ๘. กรรไกร
            ๙. คัดเตอร์
            0. กาว
            ๑๑. เทปใส
           
 
บทที่ 
ผลการศึกษาค้นคว้า
 
ผลการศึกษาค้นคว้า
            ผลการศึกษาค้นคว้า  เรื่อง  การสานมวย  จากการ  สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านหนองแสน  และจากอินเทอร์เน็ต  ปรากฏการศึกษา  ดังต่อไปนี้
มวยอุปกรณ์ในการสาน
การตัดไม้ไม้ไผ่ 1 ลำใช้ประโยชน์ได้ 4 ช่วง
1.1 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่เพื่อจักตอกสานทีละปล้องยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร
1.2 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้เพื่อจักตอกเสียบหรือตอกยั่งที่ละปล้องยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
1.3 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่เพื่อทำขอบมวยตัดทำขอบบนประมาณ 3 ปล้องหรือประมาณ 100-110 เซนติเมตรสำหรับขอบล่างยาวประมาณเกือบ 2 ปล้องหรือประมาณ 50-60 เซนติเมตร
1.4 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่ปล้องที่ยาวที่สุดสำหรับจักตอกสานชั้นที่สาม
2. มีดใช้มีดอีโต้ลับให้คมเพื่อใช้ในการผ่าไม้ไผ่ให้เป็นแผ่นบางๆเพื่อจักตอกสานจักตอกเสียบและทำขอบมวย
3. หินลับมีดเตรียมมาเพื่อใช้ลับมีดเวลาที่จักตอกส่วนต่างๆเมื่อมีดลดความคมลงจะได้ลับมีดทันที
4. เลื่อยใช้เลื่อยลันดาเพื่อใช้ตัดไม้เป็นท่อนๆเพื่อที่จะนำมาจักตอกสานตอกเสียบหรือตอกยั้งตอกสานชั้นสามและทำขอบ
5. เชือกในล่อนเส้นใหญ่จะใช้ในการรัดตัวมวยชั้นที่สองให้แน่นก่อนที่จะเย็บขอบล่างของมวย
6. ด้าย 80 เบอร์ 9 ใช้เย็บขอบล่างและขอบมวยบนของมวยและเย็บก้นมวยโยงเป็นใยแมงมุมเพื่อรองรับฝาแตะบางครั้งจะใช้เชือกในล่อนเล็กเย็บขอบแต่ไม่ทนไฟจึงนิยมใช้ด้ายเย็บแทนเดิมใช้หวายแต่เนื่องจากราคาเเพงและหายากจึงเลิกใช้กัน
7. เข็มใช้เข็มขนาดใหญ่เพื่อใช้เย็บขอบล่างขอบบนของมวยและใช้เย็บก้นมวยเป็นใยเเมงมุม
  ขั้นตอนการสานมวย
1. การจักตอกสานชั้นในและชั้นที่สอง
เลือกไม้ส่วนที่เหลือจากการทำตอกเสียบหรือไม้ตรงกลางยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตรนำมาผ่าออกเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรปล้องหนึ่งผ่าเป็นซีกแล้วจะได้ประมาณ 15 -18 ซีกแล้วเหลาปลายข้างหนึ่งให้มีความเรียวประมาณ 1 เซนติเมตร (ภาษาถิ่นเรียกว่าการส่วยไม้) แล้วใช้มีดอีโต้ที่คมจักตอกโดยผ่าเป็นผ่าเปิ้นให้เป็นเส้นบางๆไม้ไผ่ซีกหนึ่งจะได้ตอกประมาณ 20-25 เส้นตอกที่ได้เรียกว่าตอกสานเมื่อจักตอกเสร็จจะนำตอกไปผึ่งแดดเพื่อให้ตอกอยู่ตัว
2. การจักตอกเสียบหรือตอกยั้ง
นำไม้ไผ่ที่ตัดไว้ซึ่งเป็นไม้ไผ่จากโคนต้นมาผ่าเป็นซีกกว้างประมาณยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตรแล้วเหลาปลายข้างหนึ่งให้เรียวประมาณ 0.5 เซนติเมตร (ทำเหมือนการส่วยไม้ทำตอกสานแต่จะเล็กกว่า) จักแล้วให้บางตามลายเปิ้นเรียกว่าตอกเสียบตอกยั้งเมื่อจักตอกเสร็จแล้วก็นำตอกไปผึ่งแดดเพื่อให้ตอกอยู่ตัว
3. การจักตอกสานชั้นสามตัดไม้ไผ่ส่วนต่อจากตอกสานและใช้ปล้องที่ยาวที่สุดตัดส่วนข้อออกและผ่าเป็นซีกหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตรและจักตอกตะเเคงทำเป็นเส้นบางๆเล็กๆจะนำมาสานกับตอกเสียบหลังจากจักตอกเสร็จแล้วให้นำไปผึ่งแดด
4. ไม้ทำขอบนำไม้ไผ่ส่วนปลายที่ตักเป็นท่อนๆท่อนละประมาณ 3 ปล้องหรือประมาณ 100-110 เซนติเมตรสำหรับทำขอบบนยาวประมาณ 50 เซนติเมตรสำหรับขอบล่างนำมาผ่าเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรนำมาเหลาให้เรียบแล้วผ่าจักออกเป็นสองข้างเหลาให้บางกว่าส่วนอื่นเผือเวลานำมาประกอบเป็นวงกลมจะทำให้ไม่หนากว่าส่วนอื่น
การเริ่มต้นสานมวย
5. การจักตอกสานฝาแตะนำไม่ไผ่ที่ตัดไว้แล้วยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตรนำมาผ่าเป็นเปิ้นซีกหนายาวประมาณ 0.5 เซนติเมตรจักตะแคงเป็นเส้นเล็กๆเหมือนกับจักตอกสานชั้นที่สามหรือจะใช้ตอกสานชั้นที่สามมาสานเลยก็ได้เพราะวิธีการจักเเบบเดียวกัน
6. การสานมวยชั้นในและชั้นที่สองนำตอกสานที่เตรียมไว้แล้วมาสานเป็นลายสองเวียนในการสานจะเริ่มที่ขอบล่างก่อน (ก้นมวย) และสานเวียนไปเรื่อยๆชั้นที่หนึ่งจะใช้ตอกประมาณ 45 คู่แล้วนำมาประกอบกันเป็นวงกลมซึ่งเป็นรูปร่างก้นมวยเมื่อประกบเรียบร้อยแล้วก็สานต่อด้วยลายสองเหมือนเดิมจนเสร็จเป็นตัวมวยขั้นตอนนี้จะสานสองครั้งเมื่อเสร็จเเล้วให้นำมวยมาซ้อนกันจะเป็นมวยชั้นที่สองแล้วใช้เชือกในล่อนมารัดส่วนบนและส่วนล่างให้แน่นเพื่อให้ได้รูปทรงของมวยตามที่ต้องการหลังจากทำขั้นตอนนี้เสร็จเเล้วให้นำมวยไปผึ่งเเดดประมาณ 2 แดด (2 วัน)
7. การเข้าขอบล่าง (ก้นมวย) ก่อนที่จะเข้าขอบล่างให้ใช้เชือกในล่อนรัดขอบบนให้แน่นก่อนแล้วใส่ขอบบนไว้แต่ยังไม่เย็บให้โค้งขอบเป็นวงกลมไว้เฉยๆแล้วใช้เชือกรัดมาที่ขอบล่างให้แน่นแล้วเข้าขอบล่างวิธีการเข้าขอบล่างคือการนำไม้ที่เตรียมไว้แล้วมาใส่โดยการแยกไม้ที่ผ่าไว้มาวางทาบที่ขอบด้านนอกก่อนโดยใช้ติวไม้และทำให้เป็นวงกลมไปตามขอบมวยส่วนไม้ที่เหลือให้วงทาบที่ขอบมวยด้านในแล้วใช้ด้ายเย็บให้แน่นห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรเย็บให้รอบขอบล่าง
8. ในการสานชั้นที่สามนี้จะเริ่มสานจากขอบล่างประมาณ 10-12 เซนติเมตรสานตอกเริ่มทีละเส้นถ้าเส้นที่หนึ่งหมดให้เริ่มสานเส้นที่สองโดยสานกลับไปเส้นละด้านถ้าไม่ถึงขอบปากอีกให้ต่อเส้นสานไปจนถึงขอบปากมวยจึงถือว่าทำเสร็จขั้นตอนนี้
9. การเข้าขอบบน (ปากมวย) เมื่อสานมวยชั้นที่สามเสร็จแล้วนำมวยมาตัดขอบปากมวยให้เสมอกันหลังจากนั้นใช้ขอบมวยที่สานไว้แล้วมาวางทาบที่ขอบบนจะทำแบบเดียวกันกับวิธีเข้าขอบล่าง (ก้นมวย) เสร็จแล้วเย็บขอบบนให้ห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรจนรอบขอบบน
10. การเย็บก้นหวดสำหรับรองฝาแตะใช้วิธีการเย็บแบบโยงไปมาตรงข้ามกันหรือเรียกว่าเย็บแบบโยงใยแมงมุมเมื่อทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วก็จะได้มวยที่สมบูรณ์แบบประโยชน์ของมวย
11. การแตะสานฝา (ที่รองข้าวเหนียวเวลานึ่ง)
นำตอกที่เตรียมไว้มาสานด้วยลายสองให้ได้แผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตรใช้ภาชนะกลมๆเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 - 16 เซนติเมตรมาวางทาบลงแล้วใช้สีลาดตามขอบภาชนะแล้วนำมาตัดตามรอยเป็นรูปวงกลมใช้ผ้ายืดสีขาวที่ตัดเป็นผ้าเฉลียงนำมาต่อกันยาวๆมาหุ้มตามริมฝาแตะที่ตัดเป็นวงกลมเย็บให้ติดกันจนรอบถ้าไม่เย็บมือจะใช้จักรเย็บก็ได้
บทที่ 
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ
            การศึกษาโครงงาน  เรื่อง การสานมวยพอสรูปได้ดังนี้ 
สรุปผล
                   ผลผลิตจากการสานมวยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างจากการออกแบบและปรับปรุงขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของตลาดดังนี้
1. เป็นภาชนะใช้นึ่งหรือประกอบอาหารให้สุกด้วยไอน้ำเช่นนึ่งข้าวนึ่งปลานึ่งไก่นึ่งเห็ดนึ่งหอยนึ่งขนม
2. เป็นภาชนะใช้ตุ๋นเช่นตุ๋นไข่ตุ๋นเนื้อตุ๋นเป็ดตุ๋นไก่
3. เป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องอาคารทั้งภายในและภายนอกเช่นแจกันโมบายกระถางต้นไม้กระถางดอกไม้
4. ใช้ในงานเกษตรโดยนำมวยที่ใช้แล้วเป็นภาชนะใส่ดินสำหรับปลุกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
5. ใช้เป็นถังขยะ (ขยะแห้ง) 6. ใช้เป็นของชำรวยของที่ระลึกเช่นมวยเล็กกล่องกระดาษจี้ประดับกล่องน่ารักโคมไฟ
7. ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนออกแบบปรับปรุงและพัฒนาการสานมวยให้ดียิ่งขึ้น
8. ส่งผลให้นักเรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่หาง่ายราคาถูกซึ่งมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น
อภิปรายผล 
            จากการศึกษา  เรื่องการสานมวย ทำให้รู้ถึง  ลักษณะขั้นตอนการทำ  มีดังนี้
๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะสานขึ้นรูป
๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการทำลวดลาย
๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการทำขอบ
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.     รู้และเข้าใจ  เรื่อง  โครงงานการสานมวย
๒.   ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่    และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๓.    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่    สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  และที่โรงเรียน
๔.    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
ข้อเสนอแนะ
๑.     ในโอกาสต่อไปอยากออกเผยแพร่ทั่ว  ตำบลใกล้เคียง
๒.   อยากทำแผ่นพับออกเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด
๓.    อยากนำความรู้ที่ได้มาทำเป็นกิจการขนาดใหญ่  และนำออกขายในท้องตลาด
 
บรรณานุกรม
 
อินเทอร์เน็ต .WWW.GOOGLE.COM
จากชาวบ้านหนองแสน
 
(เอกสารชุดนี้จัดทำขึ้นเองเพื่อเป็นแนวทางให้เยาวชนได้ค้นคว้าต่อไป)